การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กและเยาวชนในโลกออนไลน์
การละเมิดทางเพศ การแสวงหาผลประโยชน์ และการค้ามนุษย์ในเด็กยังคงมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยมีรูปแบบที่รุนแรงมากขึ้นและอายุของผู้ถูกกระทำน้อยลงเรื่อยๆ
ในปีพ.ศ. ๒๕๖๒ บริษัทเทคโนโลยีรายงานว่ามีรูปภาพและและคลิปวิดีโอของการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กนับจำนวนนับล้านถูกนำมาเผยแพร่ ซึ่งเป็นจำนวนเกือบสองเท่าของปีที่แล้ว (แหล่งข้อมูล: ศูนย์เพื่อเด็กหายและถูกฉวยผลประโยชน์แห่งชาติ)
%
ของภาพการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กมีความผิดใน “ ประเภท A” ซึ่งรวมถึงการข่มขืนและการทรมานทางเพศของเด็กทารก (แหล่งข้อมูล: Internet Watch Foundation)
จากการเติบโตของเทคโนโลยี ทำให้เกิดการผลิตและเผยแพร่สื่อลามกที่ผิดกฏหมายได้สะดวกมากขึ้น โดยไม่เปิดเผยตัวตนผู้กระทำความผิดและผู้ใช้ปลายทาง
จากวิกฤตสู่การระบาด
- ในปีพ.ศ. ๒๕๔๑ มีรายงานภาพการล่วงละเมิดทางเพศเด็กมากกว่า 3,000 ครั้ง
- ในทศวรรตต่อมา รายงานประจำปีแสดงจำนวนที่เพิ่มขึ้นถึง 100,000 ครั้ง
- ในปีพ.ศ. ๒๕๕๗ ตัวเลขดังกล่าวสร้างปรากฏการณ์การรายงานที่มากถึง 1 ล้านครั้ง
- ในช่วงปีที่ผ่านมามีการรายงานถึง 18.4 ล้านครั้ง ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสามของทั้งหมดที่เคยรายงาน
- แม้จะมีการออกกฎหมายในปีพ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อเพิ่มความรัดกุม แต่ก็ยังมีรายงานพบเจอคดีการเผยแพร่เนื้อหาที่ผิดกฏหมายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (นิวยอร์คไทมส์ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒))
สิ่งเลวร้ายกำลังแพร่กระจายในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง
“เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยกิจกรรมของผู้ใหญ่ที่มีรสนิยมทางเพศในเด็ก โดยกลุ่มคนเหล่านี้เฝ้าดูการละเมิดและความรุนแรงทางเพศผ่านเว็บไซต์ที่มีการถ่ายทอดสดและผ่านทางเว็บแคม (แหล่งข้อมูล: เดอะ อาเซียน โพส เดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. ๒๕๖๒)
ปัจจุบันมีผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการละเมิดทางเพศและการแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบของการค้ามนุษย์ทางออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ผู้กระทำความผิดสามารถใช้ช่องทางในโลกออนไลน์ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ การส่งข้อความออนไลน์ รวมทั้งเกมส์ออนไลน์ลักลอบกระทำการชักจูงเด็กที่ไม่ทันระวังภัย แต่เดิมผู้กระทำความผิดจะสามารถเข้าถึงเด็กที่อาศัยอยู่ในภูมิลำเนาเดียวกัน แต่หลังจากโลกถูกเชื่อมด้วยอินเตอร์เน็ต ผู้กระทำความผิดสามารถเข้าถึงเด็กจำนวนมหาศาลที่ใช้เวลาว่างกับงานอดิเรกบนช่องทางต่างๆ ในหน้าเว็บไซต์จำนวนนับไม่ถ้วน รวมทั้งเกมส์ และสังคมออนไลน์ ผู้กระทำผิดเพียงคนเดียวจึงสามารถละเมิดเด็กเป็นจำนวนนับร้อยในเวลาเดียวกัน
ผู้กระทำความผิดจงใจเข้ามาตีสนิทกับเด็กโดยใช้กระบวนการทางจิตวิทยาที่เรียกว่า การล่อลวง (หรือ grooming). ทำให้เด็กเกิดความคุ้นเคยกับพวกเขาตามลำดับจนถึงขั้นของการละเมิดในที่สุด และมักจะแฝงเจตนาของการละเมิดและแสวงหาผลประโยชน์ทางออนไลน์ไว้ในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับเด็กวัยรุ่น โดยจุดเริ่มต้นของกระบวนการล่อลวงเกิดจากการวางแผนเข้ามาตีสนิทและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับเด็กที่หมายตาเอาไว้ อีกส่วนที่ทำให้กระบวนเกิดผลสำเร็จคือการหลอกล่อด้วยของขวัญและสิ่งของที่เด็กชื่นชอบ เช่น เสื้อผ้า อาหาร หรือโทรศัพท์เครื่องใหม่
ผู้กระทำความผิดจะแยกเด็กออกจากครอบครัวและคนรอบข้างที่อาจเข้ามาแทรกแซงการละเมิดทันทีที่สามารถสร้างความเชื่อใจได้แล้ว โดยพาเด็กไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด ทำสิ่งผิดกฏหมาย หรือกระทำการละเมิดผู้อื่น ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกผิด ละอายใจ และตัดขาดจากคนรอบข้างจนต้องเข้ามากราบขอความเมตตาจากผู้กระทำความผิดในที่สุด
จนถึงขั้นสุดท้ายที่ใช้ความกลัวเป็นอำนาจทำให้เด็กตกอยู่ในภาวะจำยอม เนื่องจากถูกจำจองด้วยคำข่มขู่ที่ว่าจะนำเรื่องราวไปเผยแพร่ อันจะนำความอับอายมาสู่ตัวเองและครอบครัวในภายหลังได้
การค้าและการละเมิดทางเพศเยาวชนออนไลน์ในประเทศไทย
นอกจากอินเตอร์เน็ตจะเปิดโอกาสให้ผู้ร้ายได้เข้าถึงเหยื่ออย่าง่ายดายแล้ว ยังเอื้อให้พวกเขาสามารถสร้าง รายได้ จากการขายภาพถ่ายและวิดีโอการล่วงละเมิดทางเพศให้แก่สื่อลามกเยาวชนออนไลน์ได้อีกด้วย
โอกาสสร้างรายได้นี้ได้สร้างผู้ร้ายกลุ่มใหม่ ซึ่งมิได้เป็นผู้ชอบการทารุณกรรมเยาวชนโดยส่วนตัว แต่กระทำไปเพราะเห็นเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ เนื่องจากการขายและซื้อภาพอนาจารเด็กและเยาวชนเป็นอาชญากรรม ราคาของสินค้าประเภทนี้ในตลาดมืดจึงค่อนข้างสูง พวกเขาจะยังสามารถประกอบธุรกิจนี้ต่อไปตราบใดที่ยังมีความต้องการในตลาด
การรวมตัวกันของผู้เสพการทารุณกรรมทางเพศในเยาวชนและผู้ขายสร้างสถานการณ์อันเลวร้ายที่สุดให้แก่เด็กและเยาวชนในประเทศไทย อันตรายที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นภาระอย่างมากต่อรัฐบาลและระบบโรงเรียนของประเทศไทยที่จะต้องสร้างให้เด็กๆ ตระหนักถึงอันตรายของการล่วงละเมิดทางเพศและการค้ามนุษย์ทางออนไลน์และเตรียมความพร้อมเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทารุณกรรมและแจ้งเจ้าหน้าที่เมื่อพบผู้ต้องสงสัย
เศรษฐศาสตร์ การย้ายถิ่นและปัจจัยอื่น ๆ
เศรษฐกิจที่มั่นคงของประเทศไทยทำให้เป็นที่นิยมสำหรับแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน แรงงานอพยพมักขาดสถานภาพทางกฎหมายในการทำงานในประเทศไทยและมักถูกบังคับให้ทำงานหนักซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถมีเวลาดูแลลูกๆได้เพียงพอ ลูกๆของพวกเขามักถูกทิ้งเพียงลำพังในระหว่างวันหรือหลังเลิกเรียน
การขาดการควบคุมดูแลและการใช้เทคโนโลยีเป็นรูปแบบของความบันเทิงในการเลี้ยงดูลูกเป็นการเพิ่มโอกาสให้คนแปลกหน้าสามารถเข้าถึงเด็ก
ในวัฒนธรรมไทย การให้เกียรติและเคารพผู้อาวุโสเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้อายุน้อยกว่าควรปฎิบัติ ถึงแม้วัฒนธรรมการเคารพผู้อาวุโสดังกล่าวเป็นสิ่งสวยงาม แต่ก็เป็นสิ่งที่ผู้ร้ายสามารถใช้ในการเอาเปรียบเหยื่อได้ ผู้ร้ายสามารถใช้ความอาวุโสกว่าทำให้เหยื่อเชื่อถือและให้เกียรติ ไม่กล้าโต้แย้ง ประกอบกับการที่เด็กไม่มีผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำ ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้เมื่อเจอภัยในรูปแบบออนไลน์จากคนแปลกหน้า
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เด็กและเยาวชนมีความเสี่ยง:
- การไม่มีบัตรประชาชนหรือสถานะพลเมือง
- ขาดการศึกษา
- ครอบครัวแตกแยก
- ขาดความเชื่อมั่นในเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลกฎหมาย
- กฏหมายขาดความเอาใจใส่ต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ
- ขาดความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต
- ตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวและสถานบันเทิง
การเข้าถึงความยุติธรรม - การเอาใจใส่และความเห็นอกเห็นใจในการบังคับใช้กฎหมาย