การฟื้นฟู
เราฟื้นฟู
เพราะทุกชีวิตมีคุณค่า
เราเชื่อมโยงผู้เสียหายและครอบครัวของพวกเขาเข้ากับแหล่งข้อมูลเพื่อช่วยให้พวกเขาพบกับความปลอดภัย การเยียวยา และความหวัง
การบริการช่วยเหลือผู้เสียหาย หมายถึง:
- การดูแลทางการแพทย์ คัดกรองและจัดหายาตามใบสั่งแพทย์
- จัดหาที่พักพิงระยะสั้นหรือระยะยาวในบ้านหรือที่พัก
- สนับสนุนด้านการศึกษาหรือการเรียนหนังสือจากที่บ้าน สำหรับผู้ที่ไม่สามารถกลับไปโรงเรียนได้
- ให้คำปรึกษาด้านผลกระทบทางจิตใจแก่เหยื่อ กลุ่มและสมาชิกในครอบครัว
- สนับสนุนการเยี่ยมครอบครัวและการรวมครอบครัวอีกครั้ง
- เยี่ยมบ้านเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและความก้าวหน้า ให้กำลังใจและการช่วยเหลือ
- เชื่อมต่อกับโครงการกู้คืนผู้ติดสารเสพติด
- ช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา
- ฝึกอบรมสายอาชีพและการจัดหางาน
- ช่วยเหลือทางการเงินชั่วคราว
- เงินทุนสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ
“หน้ากากที่จัดแสดงในห้องให้คำปรึกษานั้นถูกสร้างขึ้นโดยผู้เสียหายที่เราดูแล เราเปรียบการที่เราทุกคนสวมหน้ากากเพื่อให้โลกรู้จักเพียงบางส่วนของเรา เรายังพูดคุยถึงความสำคัญของการเลือกให้เฉพาะคนที่น่าเชื่อถือได้เห็นว่าเราเป็นใครจริงๆ รับรู้ทั้งประสบการณ์ของเรา ความสนุกสนานและเจ็บปวด ความกลัวและความเสียใจ รวมถึงความหวังและความฝันในอนาคต เป้าหมายของเราคือการยอมรับพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาเป็น สร้างความรู้สึกปลอดภัยและยกระดับจิตใจของพวกเขา” - สมาชิกเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา HUG
ศูนย์ช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กแห่งประเทศไทย:
ศูนย์ช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กเกิดจากแรงบันดาลใจจากการเยี่ยมชมศูนย์ช่วยเหลือเด็กดัลลัสเมื่อปี 2014 บุ๋ม มอสบี้ ผู้ก่อตั้งโครงการ HUG ช่วยคิดและเปิดตัวแนวคิดในประเทศไทยเป็นแห่งแรกในเชียงใหม่และทั่วประเทศ
คุณบุ๋มอธิบายว่า “ที่ดัลลัส เป็นครั้งแรกที่ฉันเห็นตำรวจและองค์กรพัฒนาเอกชนนักสังคมสงเคราะห์และที่ปรึกษาทุกคนทำงานร่วมกันภายใต้หลังคาเดียวกันโดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ ถูกใช้ประโยชน์หรือถูกค้ามนุษย์ ฉันรู้ว่าเราสามารถทำสิ่งเดียวกันนี้ได้ที่ประเทศไทย เด็กๆชาวไทยควรได้รับการดูแลจากทีมงานแบบนั้น” หลังจากนั้น 6 เดือน ศูนย์ช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กแห่งประเทศไทย(CAC) ก็ได้เปิดตัวขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่
ปัจจุบันมี CAC อยู่ 5 แห่งทั่วประเทศไทย มีพันธมิตรของ HUG ในแต่ละจังหวัดได้แก่:
- เชียงใหม่ Zoe International
- พัทยา: มูลนิธิ A21
- ภูเก็ต: สำหรับ Freedom International
- อุบลราชธานี: ศูนย์แสง
- สังขละบุรี: มูลนิธิสกายวัน
.
หลักการดำเนินงานของ CAC
- การประสานงานการดูแล แต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ CAC จะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของตน เช่น ด้านการป้องกัน ด้านกฏหมาย หรือด้านการให้คำปรึกษา ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านจะทำงานร่วมกันเป็นทีม ส่งผลให้กาดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นจึงไม่มีการถามคำถามที่กระทบกระเทือนจิตใจเหยื่อซ้ำๆ นอกจากนี้ เหยื่อยังสามารถรับการช่วยเหลือทางกฏหมายและรับการฟื้นฟูจากที่เดียวกัน โดยไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงานหลายแห่ง
- ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในบางครั้งอาจเกิดการขัดแย้งกันระหว่างองค์กรรัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชนขณะที่กำลังทำงานกับผู้เสียหายเด็ก เนื่องจากแต่ละองค์กรก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่การขัดแย้ง แต่ในการทำงานของทั้งสององค์กรร่วมกันภายใต้ CAC องค์กรต่างๆจะมีโอกาสได้ปรับความเข้าใจในหลายๆมุมมองของปัญหา เช่น ตำรวจเรียนรู้ที่จะมอบหมายให้องค์กรเอกชนสร้างความไว้วางใจแก่ผู้เสียหายและเก็บข้อมูลจากพวกเขา ขณะเดียวกันองค์กรเอกชนได้เรียนรู้ถึงตัวบทกฎหมายที่เป็นประโยชน์หรือส่งผลเสียต่อการฟ้องร้องคดี
- สภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับเด็ก CAC แต่ละสาขามีสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นปลอดภัยเป็นกันเองและเป็นส่วนตัว เหมาะสำหรับเยาวชนและสมาชิกในครอบครัว รวมถึงห้องสัมภาษณ์ส่วนตัวที่ตบแต่งด้วยของเล่นและอุปกรณ์ศิลปะเพื่อการเยียวยารักษาหรือการสืบสวน
- เน้นการป้องกัน งานของ CAC เป็นการปฎิบัติการเชิงรุกเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในเด็กกลุ่มเสี่ยงผ่านการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมผ่านกิจกรรมตัวอย่าง ได้แก่ ศิลปะ ดนตรี กีฬา การให้คำปรึกษา กิจกรรมครอบครัว บทเรียนภาษาอังกฤษและการฝึกอบรมความปลอดภัยออนไลน์ CAC สนับสนุนสถาบันครอบครัวให้แข็งแกร่ง สร้างความมุ่งมั่นในด้านวิชาการ โดยมีเป้าหมายระยะยาวเพื่อสุขภาพจิตที่ดีและการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
- ผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง ตั้งแต่เริ่มกระบวนการช่วยเหลือตลอดจนการเยียวยาฟื้นฟู พนักงาน CAC จะคำนึงถึงตัวผู้เสียหายเป็นสูงสุด ซึ่งรวมถึงการเคารพคำขอของผู้เสียหาย (มากเท่าที่สมเหตุสมผลและเป็นไปได้) ให้โอกาสผู้เสียหายได้ทำความเข้าใจขั้นตอนและถามคำถาม พิจารณาสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดแก่พวกเขาในทุกขั้นตอนของกระบวนการ ซึ่งแต่ละทีมงานใน CAC ล้วนคำนึกถึงผู้เสียหายเป็นศูนย์กลางร่วมกัน